แรงงานต่างด้าว 1

เคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมเดินไปตลาด ร้านอาหาร หรือแถวไซต์ก่อสร้าง เราถึงเห็น แรงงานต่างด้าว เต็มไปหมด ไม่จ้างคนไทยทำงานกันแล้วหรือ ทำไมแรงงานต่างด้าวมาอยู่ในไทยเยอะจัง วันนี้จะชวนทุกคนมาวิเคราะห์เรื่องนี้กัน

สรุปสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานบนโลก

อันดับแรก พี่ทุยขอฉายภาพให้เห็นแบบกว้าง ๆ ก่อนดีกว่าว่า ถ้าดูกันทั่วโลก สถานการณ์การย้ายถิ่นฐานของแรงงานเป็นยังไงบ้าง

  • สถิติการย้ายถิ่นฐาน

184 ล้านคน หรือ 2.3% ของประชากรโลก ย้ายถิ่นฐานไปอาศัยนอกประเทศบ้านเกิด

43% ของคนที่ย้ายถิ่นฐานเดินทางมาจากประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง

  • ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่นฐาน

ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก

แนวโน้มประชากรที่เปลี่ยนไป

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

  • ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากการมีแรงงานย้ายถิ่นฐาน

จากรายงานของ World Bank : World Development Report 2023 พบว่า

การมีแรงงานข้ามชาติ ช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ให้ประเทศได้ กรณีแรงงานที่ย้ายมามีทักษะและคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการของสังคมปลายทาง

กรณีผู้ลี้ภัย การย้ายถิ่นฐานถือเป็นการให้ความคุ้มครองระหว่างประเทศที่ยั่งยืน ทั้งด้านการเงินและสังคม

เมื่อมีการย้ายถิ่นฐาน ต้องให้ความสำคัญเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้ย้ายถิ่นฐาน เพื่อลดความเคลื่อนไหวที่มีปัญหา

ข้อเสนอแนะ คือ รัฐบาลประเทศต้นทางควรกำหนดให้การย้ายถิ่นของแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาประเทศ ส่วนรัฐบาลประเทศปลายทางควรใช้ประโยชน์ในการจับคู่แรงงานย้านถิ่นฐานกับทักษะที่ต้องการ

ถ้าจะให้สรุปจากข้อมูลนี้ พี่ทุยก็ต้องบอกว่า เรื่องการย้ายถิ่นฐานไปทำงานนอกประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ก็มีให้เห็นทั่วโลกนั่นแหละ ถ้าจะดูข้อมูลกันจริง ๆ ใกล้ ๆ ตัว เราก็จะเห็นว่า แม้แต่คนไทยเอง ก็มีจำนวนไม่น้อยเลย ที่ย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากทำมาหากินในต่างประเทศ

สรุปสถานการณ์ แรงงานต่างด้าว ในไทย

คราวนี้มาโฟกัสที่ประเทศไทยบ้าง ต้องบอกว่าในไทยเองก็มีแรงงานข้ามชาติไม่น้อย และแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ก็มีความสำคัญกับรากฐานเศรษฐกิจของเรา

ถ้าไปดูข้อมูลจาก รายงานการย้ายถิ่นฐานของประเทศไทย ปี 2019 ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานเฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

28% ของประชากรไทย จะมีอายุมากกว่า 60 ปี ในปี 2031 ทำให้ต้องนำเข้าแรงงานจากต่างชาติมากขึ้น

ไทยเป็นประเทศที่การว่างงานค่อนข้างต่ำ และมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่ใช้ทักษะน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาแรงงานทักษะน้อยเป็นหลัก

จากข้อมูลปี 2010 แรงงานต่างด้าวมีส่วนสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย คิดเป็น 4.3-6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และมากกว่า 10% ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ

แรงงานต่างด้าว 2

แรงงานต่างด้าว อยู่ที่ไหนในไทยกันบ้าง

ถ้าดูจากจำนวนแรงงานต่างด้าวในไทยแล้ว ก็ไม่น้อยเลยทีเดียว สมมติว่าเอามานับรวมกับจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ จากข้อมูลของกรมการปกครอง ณ เดือน ธ.ค. 2022 ที่มี 66.09 ล้านคน ก็หมายความว่า ถ้าเอาจำนวนแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายมารวมกับจำนวนคนไทยทั้งประเทศ ก็จะมีประมาณ 68.83 ล้านคน

ดังนั้น ถ้าสมมติเราเห็นคนเดินอยู่บนถนนในประเทศไทยทุก 25 คน เราก็อาจจะเจอคนต่างชาติ 1 คน นี่ยังไม่นับรวมแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานแบบผิดกฎหมาย แล้วก็นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวบ้านเรา ฉะนั้น ก็ไม่น่าแปลกใจเลย ที่เดินไปทางไหน ก็เห็นแต่คนต่างชาติเต็มไปหมด

ข้อมูลงานวิจัย เรื่อง เปิดข้อเท็จจริงแรงงานต่างด้าวในไทย : ตอนที่ 1 แรงงานทักษะต่ำ ที่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ นำมาเผยแพร่ พบว่า แรงงานทักษะต่ำ โดยเฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้าน มักจะเข้ามาทำงานในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดน เช่น ตาก เชียงราย ระนอง

นอกจากนี้จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่หัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา สุราษฎร์ธานี รวมถึงจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่มาก เช่น สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี และระยอง เป็นต้น ซึ่งก็ค่อนข้างสอดคล้องกับตัวเลขแรงงานล่าสุดที่พี่ทุยนำเสนอไว้ด้านบน

ถ้าดูข้อมูลของปี 2019 ตามที่งานวิจัยนำเสนอไว้ จะพบว่า แรงงานต่างด้าวทักษะต่ำ จะอยู่ในภาคเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง มากที่สุด 23.2% ของแรงงานทั้งหมดในธุรกิจกลุ่มนี้ รองลงมาคือ ภาคก่อสร้าง การบำบัดของเสียและสิ่งปฏิกูล การผลิต ได้แก่ ผลิตอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง และสิ่งทอ การผลิตไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ ระบบปรับอากาศ และกิจกรรมบริการด้านอื่น โดยเฉพาะ บริการซักอบรีด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเศรษฐกิจการเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและนักธุรกิจ ที่พบว่า

แรงงานต่างด้าวทักษะต่ำส่วนใหญ่ทนต่อสภาพการทำงาน และมักทำงานประเภท 3D ได้แก่ งานหนัก (difficult) งานสกปรก (dirty) และงานอันตราย (dangerous) ซึ่งเป็นงานที่คนไทยไม่นิยมทำ

โดยรวมแล้ว แรงงานต่างด้าวถือว่ามีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทยมาก ไม่ใช่แค่พวกเขาหนีร้อนจากบ้านตัวเองมาพึ่งพาเรา แต่ประเทศของเราก็ต้องพึ่งพาเขามากเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของแรงงานต่างด้าวที่น่าสนใจคือ การมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมาย ไม่ได้ขออนุญาตจำนวนมาก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะถ้าจะเข้ามาแบบถูกกฎหมาย ก็จะมีขั้นตอนกระบวนการ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ที่ฝั่งนายจ้างมองว่า ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างสูงทีเดียว ถ้าเทียบกับคุณสมบัติของแรงงานที่ต้องการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีทักษะต่ำ ค่าจ้างไม่แพง จึงเป็นช่องว่างที่ทำให้นายจ้างเองไปรับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เพื่อให้มีต้นทุนแรงงานไม่แพง

สิ่งที่น่าห่วงคือ ไม่ใช่แค่นายจ้างต้องการแรงงานที่ค่าจ้างไม่แพงมาทำงานเท่านั้น  แต่ด้วยความเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ดังนั้นก็แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ก็จะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส ทารุณกรรม หรือล่วงละเมิดทางเพศได้ด้วย

ปัญหาที่อาจจะตามมากับปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 

ด้านเศรษฐกิจ

  • การใช้แรงงานราคาถูก มีผลิตภาพต่ำ กระทบขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจประเทศในอนาคต
  • อาจถูกกีดกันทางการค้าจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย
  • รัฐบาลต้องแบกภาระงบประมาณเรื่องการรักษาพยาบาลและการศึกษาเพิ่มขึ้น

ด้านการเมือง

  • อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กรณีเป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาลต่างประเทศเข้ามา

ด้านสังคม

  • ปัญหาอาชญากรรม
  • ปัญหาโรคระบาด โรคติดต่อ
  • ปัญหาสถานภาพเด็กที่เกิดในไทย จากแรงงานผิดกฎหมาย
  • ปัญหาภาพลักษณ์ของประเทศ จากการที่ผู้ประกอบการบางรายละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานต่างด้าว

เมื่อแรงงานต่างด้าวก็สำคัญและจำเป็นกับเศรษฐกิจ แต่ว่า ถ้าปล่อยให้มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายมาก ๆ ก็อาจจะกระทบกับประเทศด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของรัฐบาลชุดใหม่ที่ต้องเข้ามาจัดการเรื่องนี้เหมือนกันว่า จะทำยังไงให้ประเทศได้ประโยชน์สูงที่สุดจากการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยที่คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ควบคุมดูแลการเข้ามาให้เป็นไปอย่างถูกกฎหมายมากขึ้น

แรงงานต่างด้าว กระดูกสันหลัง ของเศรษฐกิจไทย

ากการวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ พบว่า แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ เป็นแรงงานทักษะต่ำ และตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ไทยมีการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวทักษะต่ำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเป็นการเข้ามาทำงานที่คนไทยไม่อยากทำ ซึ่งเรียกว่าเป็นงาน 3D ได้แก่

  • งานหนัก (Difficult)
  • งานสกปรก (Dirty)
  • และงานอันตราย (Dangerous)

ทั้งนี้บริษัทที่มีอัตราการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวสูง มักจะเป็นบริษัทที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก และเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือที่เรียกว่า SMEs โดยสำหรับบริษัทขนาดเล็ก ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวมากถึงครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่มีอัตราการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวที่ต่ำกว่าบริษัทขนาดเล็กมาก

จากโครงสร้างของตลาดแรงงาน ก็จะเห็นว่าหากประเทศไทยไม่มีแรงงานต่างด้าว จะทำให้อุปทานแรงงานขาดแคลน และทำให้หลายบริษัทต้องแบกรับต้นทุนค่าจ้างแรงงานมากกว่าที่ควรจะเป็น หรืออาจจะหาลูกจ้างไม่ได้ด้วยซ้ำไป


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
‘ลูกยิงแห่งปี’ ของ Rory McIlroy คว้าชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่
Diablo IV : How To Build OP Druid เมื่อเร็ว ๆ นี้
วิทยาศาสตร์ประชากร การเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของประชากร
เอฟเวอร์ตัน เลี่ยงตกชั้นพรีเมียร์ลีกวันสุดท้ายอย่างสุดดราม่า
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.hernan-urbina-joiro.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.moneybuffalo.in.th